วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พิธีแห่ขันหมาก

ฝ่ายชายจะทำหน้าที่เตรียมขันหมากหมั้น ซึ่งประกอบด้วย
  • พานขันหมาก ประกอบด้วยหมาก 8 ผล เลือกให้อยู่ในพวงเดียวกัน หรือเลือกแบบ 2 ผล ให้อยู่ในก้านเดียวกัน 4 ก้านก็ได้ ฝานก้นหมากทาชาดให้เรียบร้อย เรียงใบพลูที่ทาชาดและตัดก้านเสมอกันแล้วเรียง เรียงละ 8 ใบ และจัดให้เหมือนกัน 2 พาน
  • พานขันหมั้น หา ขันที่ใหญ่กว่าขันหมากเล็กน้อย แบ่งเป็นขันสินสอดหนึ่งขัน วางก้นขันด้วยพืชพรรณและใบไม้ ดอกไม้มงคล อย่างเช่น ดอกรัก ใบเงิน ใบทอง ใบหยก ใบนาก ใบแก้ว ข้าวเปลือก ถั่ว งา จากนั้นจึงนำสินสอดวางด้านบน และมีเคล็ดปฏิบัติสำหรับพานสินสอดก็ คือ ควรเพิ่มเงินให้มากกว่าสินสอด เพราะเป็นความเชื่อว่าเงินนั้นจะงอกเงยเป็นดอกผลให้แต่คู่บ่าวสาว สำหรับอีกขันจัดก้นขันเหมือนกันวางของหมั้นไว้ด้านบน
  • พานธูปเทียนแพ ใช้ธูปและเทียนแพเท่านั้น โดยวางก้นพาน จากนั้นจึงใช้กระธงกรวยใบตองบรรจุดอกไม้วางไว้บนธูปและเทียนแพอีกที
  • ขันวางผ้าไหว้ สำหรับ ไหว้พ่อแม่หรือผู้มีบุญคุณที่เลี้ยงดูฝ่ายหญิง ถ้าผู้รับผ้าไหว้เป็นผู้หญิง ของไหว้ในพานควรเป็นผ้าไหมส่วนของผู้ชายใช้ผ้าขนหนู หรือจะใช้เป็นผ้าขนหนูแบบเดียวกันทั้งผู้หญิงผู้ชายก็ได้
  • เครื่องขันหมาก ประกอบ ไปด้วยขนมมงคล 9 อย่าง คือ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน ทองเอก จ่ามงกฎ เสน่ห์จันทร์ ขนมชั้น ขนมถ้วยฟู และอาหารคาวอย่างหมูนอนตอง (หมูสามชั้นต้มสุกวางบนใบตอง) ไก่ต้ม ปลาช่อนนึ่งทั้งตัว รวมไปถึงบริวารขันหมากอื่นๆ เช่น ต้นกล้วย (มีหัวปลีติดมาด้วยจะดีมาก) ต้นอ้อย มะพร้าวอ่อน กล้วยน้ำว้าทั้งเครือ


ปรึกษา เรื่องแต่งงาน แบบไทยๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น